วิสัยทัศน์ อำนาจหน้าที่
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี
Office of Agricultural Extension and Development Number 2, Ratchaburi
วิสัยทัศน์
“มุ่งมั่นพัฒนาบุคลากรสู่ความเป็นเลิศด้านส่งเสริมการเกษตร”
อำนาจหน้าที่
- ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเพื่อพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร เทคโนโลยี และระบบการผลิตที่เหมาะสมกับพื้นที่
- ฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตรแก่เจ้าหน้าที่และเกษตรกร
- ส่งเสริม ประสานและสนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร ตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและในเขตพื้นที่พิเศษ
- ควบคุม กำกับ และสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการในพื้นที่รับผิดชอบ
- เป็นศูนย์กลางสนับสนุนทางวิชาการ ด้านการผลิตและจัดการผลผลิต การพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร องค์กรเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน แก่สำนักงานเกษตรจังหวัดและประสานวิชาการกับหน่วยงานวิชาการภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา
- ศึกษา วางแผน และติดตามประเมินผลการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร และประสานการตรวจราชการในเขตพื้นที่
- ให้คำปรึกษาและประสานงานแก่สำนักงานเกษตรจังหวัด ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนการปฏิบัติงาน และบูรณาการแผนด้านการส่งเสริมการเกษตรระดับจังหวัด และกลุ่มจังหวัด
- ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จ.ราชบุรี แบ่งโครงสร้างออกเป็น 1 ฝ่าย 4 กลุ่ม ดังนี้
1. ฝ่ายบริหารทั่วไป
- ปฏิบัติงานด้านงานธุรการ งานสารบรรณ งานการเงินบัญชีและพัสดุ งานพิมพ์และแจกจ่ายเอกสาร และการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานงานที่เกี่ยวข้อง
- ดำเนินการเกี่ยวกับงานบริหารงานบุคคล และงานสวัสดิการต่าง ๆ
- ดำเนินการเกี่ยวกับการประชุมของหน่วยงาน
- บริหารจัดการงบประมาณประจำปีของหน่วยงานและควบคุมการใช้จ่ายเงินงบประมาณ
- งานดูแลอาคารสถานที่และยานพาหนะ
- ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
2. กลุ่มพัฒนาบุคลากร
- ศึกษา วิเคราะห์ วางแผนและดำเนินการพัฒนาบุคลากรในด้านวิชาการ และคุณธรรม จริยธรรมของบุคลากรในเขตที่รับผิดชอบ
- ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนาเทคนิค พัฒนาหลักสูตร และวิธีการจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของบุคคลเป้าหมาย
- ดำเนินการจัดอบรมและถ่ายทอดความรู้แก่เจ้าหน้าที่ ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ รวมทั้งเกษตรกรผู้นำ และสถาบันเกษตรกร
- ประสานงาน ถ่ายทอดความรู้ ให้คำปรึกษาแนะนำ และร่วมแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาบุคลากร ให้แก่สำนักงานเกษตรจังหวัด ศูนย์ปฏิบัติการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ติดตาม นิเทศงาน และประเมินผลการดำเนินงานการพัฒนาบุคลากร
- ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
3. กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร
- ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร การพัฒนาผู้นำเกษตรกร การพัฒนาองค์กร สถาบันเกษตรกร งานวิสาหกิจชุมชน งานส่งเสริมเคหกิจ และการพัฒนาศักยภาพและความเข้มแข็งของกลุ่ม
- ศึกษา วิเคราะห์ และสนับสนุน การแปรรูปผลผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ในเขตรับผิดชอบ
- ประสานงานวิจัยด้านการพัฒนาเกษตรกร องค์กรเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนกับหน่วยงานวิชาการ สถาบันการศึกษาและเอกชนที่เกี่ยวข้อง
- ให้คำปรึกษา แนะนำแก่สำนักงานเกษตรจังหวัดในการสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร องค์กรเกษตรกร กลุ่มส่งเสริมอาชีพ วิสาหกิจชุมชน งานเคหกิจเกษตร และกลุ่มเครือข่ายการทำงานในพื้นที่ และถ่ายทอดความรู้ด้านวิชาการส่งเสริมการเกษตรแก่เจ้าหน้าที่
- ประสานงานและให้การสนับสนุนการพัฒนาเกษตรกร องค์กรเกษตรกร กลุ่มส่งเสริมอาชีพวิสาหกิจขุมชน และงานส่งเสริมเคหกิจเกษตร
- ติดตาม นิเทศงาน และประเมินผลการดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร
4. กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต
- ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และประยุกต์การใช้เทคโนโลยีการผลิตพืชให้เหมาะสมกับศักยภาพของเกษตรกรและสภาพพื้นที่ การจัดการสินค้าเกษตร การพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร การอารักขาพืช ในลักษณะบูรณาการวิชาการด้านการผลิตพืช และพื้นที่เกษตรกรรมในแต่ละภูมิภาค
- ส่งเสริมและให้บริการเทคโนโลยี การบริหารจัดการสินค้าเกษตร การพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรสู่มาตรฐานสินค้าเกษตร การอารักขาพืช และสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการในการดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของเกษตรกรให้แก่สำนักงานเกษตรจังหวัด และศูนย์ปฏิบัติการ
- ประสานงาน และร่วมดำเนินการ ศึกษา วิจัยเทคโนโลยีการผลิตพืช การจัดการสินค้าเกษตร การพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรและการอารักขาพืชกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ให้คำปรึกษาและสนับสนุนข้อมูลด้าน Zoning ข้อมูลทางวิชาการด้านการผลิต การจัดการผลผลิต และการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรแก่สำนักงานเกษตรจังหวัดและศูนย์ปฏิบัติการ
- ส่งเสริมและประสานการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในเขตพื้นที่เฉพาะ ในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำต่าง ๆ และในเขตพื้นที่พิเศษ
- ติดตาม นิเทศ และประเมินผลการดำเนินงานส่งเสริมการผลิตพืช การจัดการสินค้าเกษตร การพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรและการอารักขาพืช
- ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
5. กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ
- ศึกษา วิเคราะห์การจัดทำยุทธศาสตร์การส่งเสริมการเกษตรระดับเขต ดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของหน่วยงานทีั้งในระดับเขตและกลุ่มจังหวัด
- ศึกษา วิเคราะห์และจัดทำข้อมูล สารสนเทศ ภูมิสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนงานส่งเสริมการเกษตรของสำนักงานเกษตรจังหวัด และศูนย์ปฏิบัติการ
- ประสานงานการวิจัยและวิชาการกับหน่วยงานวิชาการภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษาเพื่อสนับสนุนงานส่งเสริมการเกษตรในเขตรับผิดชอบ
- การประสานการตรวจราชการ การติดตาม นิเทศ และประเมินผล และการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรในเขตรับผิดชอบ
- การบริหารแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานและการรายงานผลการปฏิบัติราชการ
- ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร การศึกษา วิเคราะห์ และให้คำปรึกษา แก่สำนักงานเกษตรจังหวัด ศูนย์ปฏิบัติการ เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนการปฏิบัติงาน และการบูรณาการงานส่งเสริมการเกษตรในระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
- ศึกษา พัฒนา รูปแบบ วิธีการ การประชาสัมพันธ์งานส่งเสริมการเกษตร เพื่อสนับสนุนหน่วยงานในเขตรับผิดชอบ และดำเนินการประชาสัมพันธ์ การประกวดผลงานส่งเสริมการเกษตร การแสดงนิทรรศการ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานส่งเสริมการเกษตร
- ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย